Welcome to WebBlog by Phatthiya Morasri Major Computer Education in Muban Chombueng Ratjapat University

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เน็ตหาIPV4 ไม่เจอ Ethernet doesn’t have a valid IP configuration Not fixed

สำหรับปัญหา Ethernet doesn’t have a valid IP Configuration Not fixed กับปัญหาการ์ดแลนมีการตั้งค่า IP Address ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งตัวระบบ Windows 10 Technical Preview ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาอยู่นี้ จะทำการรับค่า IP Address แบบ DHCP มาให้อัตโนมัติเท่านั้น หากผู้ใช้งานจะทำการตั้งค่า IP Address แบบ Static หรือกำหนดค่าเอง เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ในวงแลน จะไม่สามารถทำได้ คิดว่าคงจะเป็นบั๊กที่มีมากับตัว Windows 10 Technical Preview เอง ซึ่ง Windows 10 ที่มีให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ใช้งานกันอยู่นี้ จะยังคงเป็นเวอร์ชั่นที่กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนา ข้อผิดพลาดใดๆก็ยังเกิดขึ้นได้ตลอด
ซึ่งเท่าที่ผมได้ลองใช้งานจะพบกับปัญหานี้ ส่วนใหญ่จะเป็นกับ build 10056 (ซึ่งเป็นตัวล่าสุด ณ เวลานี้) และ build 10049 ส่วน build เก่ากว่านี้จนก่อนถึง 9926 ยังไม่เคยได้ลองใช้งาน เพราะตอนแรกที่ได้ลองเล่น Windows 10 Technical Preview ก็จะเริ่มเล่น build 9926 เลย แต่ build 9926 นี่ก็มีปัญหาเหมือนกัน ปัญหานั้นก็จะเป็นในส่วนของ Local Area Connection / Ethernet ซึ่งเป็นไอคอนของการ์ดแลนที่อยู่ในหัวข้อ Control Panel -> Network and Sharing Center โดยเฉพาะเครื่องที่มีการ์ดแลนมากกว่า 1 ตัว ถ้าต้องการปิดการทำงานการ์ดแลนตัวใดตัวหนึ่งด้วยคำสั่ง Disable จะมีข้อความแจ้งเตือนว่าไม่สามารถปิดการทำงานได้ แต่ถ้าหากมีการรีสตาร์ทเครื่องใหม่ ไอคอนการ์ดแลนตัวดังกล่าวก็จะปิดการทำงานให้
Note. 1 คำสั่งต่อไปนี้ กับปัญหานี้ Windows 10 build 10056 เท่าที่ลองนำมาแก้ปัญหา จะไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้
– netsh int ip reset
– netsh winsock reset
– netsh interface IPV4 uninstall
– netsh interface IPV4 install
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-14
การเรียกเข้าใช้หน้าต่าง Network Connections ได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำได้ด้วยการคลิกปุ่ม Start -> ที่ช่อง search พิมพ์คีย์เวิร์ด ncpa.cpl แล้วกด Enter
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-15
หน้าต่าง Network Connections ก็จะเปิดขึ้นมาทันที ซึ่งวิธีแบบเก่า จะต้องเข้าไปที่ Control Panel -> Network and Sharing Center -> Change adapter settings
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-01
จากรูปของหน้าต่าง Network Connections ผมจะใส่การ์ดแลนไว้ 2 ตัว ตัวแรก Ethernet จะต่อตรงกับโมเด็ม 1 ตัวเลย รับสัญญาณแบบ DHCP สำหรับใช้งานอินเตอร์เน็ตส่วนตัว ส่วนตัวที่สอง Ethernet 2 ต้องการให้มีการใช้งานบนระบบแลน ด้วยการกำหนดค่า IP Address แบบ Static หรือกำหนดค่า IP ตามต้องการเพื่อใช้งานแชร์ไฟล์, แชร์พริ้นเตอร์ หรือทดสอบอินเตอร์เน็ตของวงแลนบ้าง
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-02
ที่หน้าต่างกำหนดคุณสมบัติ Properties ที่หัวข้อ Internet Protocol Version 4 (TCP/IPv4) โดยปกติแล้วถ้าคลิกที่หัวข้อนี้ จะต้องโชว์ปุ่ม Properties ให้สามารถคลิกเข้าไปกำหนดค่า IP Address ได้ แต่ก็ไม่สามารถทำได้
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-03
ถ้าหากคลิกขวาที่ไอคอนการ์ดแลนที่เราจะกำหนด IP Address แบบ Static ด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุผ่านคำสั่ง Diagnose ก็จะพบกับข้อความแจ้งปัญหา “Ethernet” doesn’t have a valid IP configuration Not fixed
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-04
ลองดูในส่วนของรายละเอียดที่ระบุเอาไว้สำหรับการ์ดแลน ที่ Autoconfiguration IPv4 จะมีการกำหนด IP Address แบบอัตโนมัติที่ได้รับมาจาก Hub Switch ในวงแลนของผมเอง และตรงนี้จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-05
แต่ปัญหาดังกล่าว ถ้าเราไม่สามารถแก้ไขผ่านหน้าต่าง Properties ของการ์ดแลนที่ต้องการได้ ก็จะมีอีกหนึ่งทางเลือกกับการแก้ปัญหานี้ ก็คือ การเรียกใช้คำสั่ง Netsh interface ip เข้ามาช่วยครับ โดยเรียกใช้งานคำสั่งต่างๆต่อไปนี้ผ่านหน้าต่าง Command Line
โดยคลิกที่ปุ่ม Start ที่ช่อง search ให้พิมพ์คีย์เวิร์ด CMD
หัวข้อ Command Prompt ก็จะโชว์ขึ้นมา แล้วคลิกขวาเลือก Run as administrator
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-06
เริ่มจากคำสั่งแรก
– netsh interface ipv4 show interfaces
จะเป็นคำสั่งแสดงการทำงานของการ์ดแลนที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด ซึ่งดังรูปด้านบน ผมจะมีการ์ดแลน 2 ใบ สังเกตที่ชื่อ Name ระหว่าง Ethernet กับ Ethernet 2 และให้จดจำค่า Idx นี้เอาไว้ด้วย เพราะหลังจากนี้ ผมจะใช้ตัวเลขที่อยู่ในช่อง Idx นี้ มาใช้งานประกอบกับคำสั่งครับ
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-07
– netsh interface ipv4 show addresses <Idx/”Name”>
ตัวอย่าง
– netsh interface ipv4 show addresses 2 (เลข 2 ก็คือค่า Idx ของการ์ดแลน Ethernet 2 หรือถ้าไม่อยากใส่ค่า Idx เราก็สามารถกำหนดเป็นชื่อการ์ดแลนลงไปแทนก็ได้ครับ แต่ต้องมีเครื่องหมาย “” (double quote) ปิดหน้าหลังชื่อการ์ดแลน ตัวอย่าง netsh interface ipv4 show address “Ethernet 2”
จะใช้สำหรับแสดงค่า IP Address (IPv4) ที่ถูกรับค่ามาแบบ DHCP หรือมีการปรับแต่งค่าด้วยตนเอง สำหรับการ์ดแลน Ethernet 2
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-08
เพราะในรูปจะมีการ์ดแลน 2 ใบ ก็เลยทำรูปมาให้ดูเป็นลูกศรใหม่ครับ เดี๋ยวจะงงกันนะ
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-09
ถ้าดูในรายละเอียด Network Connection Details ก็จะมีรายละเอียดที่ตรงกันกับหน้าต่าง Command Prompt ผ่านคำสั่งnetsh interface ipv4 show addresses 2
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-10
– netsh interface ip set address 2 static <ip address> {วรรค} <subnet mask> {วรรค} <default gateway>
จะใช้สำหรับการเปลี่ยนการรับค่า Address แบบ DHCP เป็น Static แล้วกำหนดค่า IP Address, Subnet และ default gateway แต่ทั้ง 3 ค่านี้ต้องตรวจสอบค่า Address ที่ถูกกำหนดไว้ในวงแลนนั้นๆด้วย
ตัวอย่าง netsh interface ip set address 2 static 192.168.100.15 255.255.255.0 192.168.100.1
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-11
– netsh interface ip add dns <Idx/”Name”> {วรรค} <Preferred DNS Server>
จะเป็นการกำหนดค่า Preferred DNS Server ให้แก่การ์ดแลน
ตัวอย่าง netsh interface ip add dns 2 8.8.8.8
และ
– netsh interface ip add dns <Idx/”Name”> {วรรค} <Alternate DNS Server> {วรรค} index=2
จะเป็นการกำหนดค่า Alternate DNS Server ให้แก่การ์ดแลน
ตัวอย่าง netsh interface ip add dns 2 8.8.4.4 index=2
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-12
– netsh interface ipv4 show addresses <Idx/”Name”>
จะใช้สำหรับแสดงค่า IP Address (IPv4) ที่ถูกรับค่ามาแบบ DHCP หรือมีการปรับแต่งค่าด้วยตนเอง สำหรับการ์ดแลน Ethernet 2 เพื่อตรวจสอบดูว่าค่า IP Address, Subnet และ default gateway ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปหรือยัง
ตัวอย่าง
– netsh interface ipv4 show addresses 2
หลังจากนี้ค่าต่างๆเช่น IP Address, subnet, Default Gateway และ DNS Server ก็จะถูกกำหนดให้ใหม่เรียบร้อยแล้วครับ แต่ถ้ากลับไปดูที่หน้าต่างกำหนดคุณสมบัติ Properties ที่หัวข้อ Internet Protocol Version 4 (TCP/IPv4) ก็จะยังไม่สามารถแก้ไขค่าใดๆผ่านหัวข้อ Properties ได้เหมือนเดิมนะครับ หากต้องการเปลี่ยนแปลงค่าใดๆก็ต้องทำผ่านคำสั่ง Command Line อย่างเดียวเท่านั้น เพียงเท่านี้คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ก็จะเป็นที่รู้จักกับคอมพิวเตอร์เครื่อง อื่นๆในวงแลนเดียวกันอย่างการแชร์ไฟล์, แชรพริ๊นเตอร์ หรือใช้งานอินเตอร์เน็ตได้เรียบร้อยแล้ว
Ethernet-doesn-t-have-a-valid-IP-configuration-Not-fixed-13
มาต่อกันที่อีก 2 คำสั่งสุดท้าย
– netsh interface ipv4 set address name=<Idx/”Name”> source=dhcp
จะทำการเปลี่ยนค่า address ของการ์ดแลนที่ถูกกำหนดค่า IP Address, Subnet และ Default Gateway ที่เคยถูกตั้งเอาไว้แบบ Static ให้รับค่า DHCP ซึ่งจะเป็นการเคลียร์ค่าดังกล่าวที่เคยปรับแต่งตามรายละเอียดด้านบนให้ เหมือนเดิมนั่นเองครับ
ตัวอย่าง netsh interface ipv4 set address name=2 source=dhcp
– netsh interface ip delete dns <Idx/”Name”> all
จะทำการลบค่า Preferred DNS Server และ Alternate DNS Server
ตัวอย่าง netsh interface ip delete dns 2 all

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

งานกลุ่ม หน่วยที่ 7 เรื่อง


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

กับการเรียนการสอน


นายภัททิยะ  เมาะราษี 



การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน


แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


   หลักการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          ในการทำงานต่างๆ เช่น นักศึกษาทำการบ้านหรือทำรายงานส่งอาจารย์ หรือพนักงานบริษัทเตรียมการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ มักจะต้องมีการหาข้อมูลประกอบการทำงานนั้นๆ บางครั้งข้อมูลอาจเป็นเพียงข้อมูลง่ายๆ

   การค้นหาข้อมูล

       · เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย
       · อินทราเน็ต (Intranet)
       · เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)
       · อินเทอร์เน็ต (Internet)
       · รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

          ใช้วิธีการที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน (Search engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์ คำสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ด (Key Word) เข้าไปในช่องที่กำหนด แล้วคลิกที่ปุ่ม SEARCH หรือ GO โปรแกรมค้นหาจะเริ่มทำงาน การแสดงผลการค้นหาจะแสดงชื่อเว็บไซต์ URL และมักจะแสดงสาระสังเขปของเว็บไซต์นั้นๆ ด้วย เพื่อช่วยให้ผู้คนหาสามารถตัดสินใจในเบื้องต้นว่าเว็บไซต์นั้นมีข้อมูลที่ต้องการหรือไม่ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลจำเป็นจำนวนมาก บางครั้งเซิร์จเอ็นจิน จะพบข้อมูลข้อมูลนับพันนับหมื่นรายการ ซึ่งทำให้เสียเวลากลั่นกรองหาข้อมูลที่ต้องการจริงๆ เซิร์จเอ็นจิน บางตัวจะมีระบบค้นหาที่ละเอียดขึ้น เรียกว่า แอดวานซ์เชิร์จ(Advanced search หรือ Refined search) โดยให้ผู้ค้นหาสามารถระบุเงื่อนไขได้ เช่น หากจะค้นหาโดย ใช่คีย์เวิร์ด “e-commerce” อาจจะค้นพบเป็นหมื่นรายการ แต่ถ้าคีย์เวิร์ด “e-commerce in Thailand” อาจค้นพบเป็นร้อย และถ้าใช้คีย์เวิร์ด “e-commerce in Thailand AND NOT handicraft”ก็อาจค้นพบน้อยลงเหลือไม่กี่รายก็เป็นได้ วิถีการดังกล่าว เรียกว่าการ การกรอง(Filter) ซึ่งอาศัยการตั้งเงื่อนไขเชื่อมโยงกันด้วยคำที่เป็น Boolean Operators ได้แก่คำว่า AND,OR,NOT ทำให้มีผลเท่ากับการเลือกเงื่อนไขแบบใช่ทั้งหมด ใช้บางส่วนหรือไม่ใช้บางเงื่อนไข วิธีจะพบโปรแกรมค้นหาส่วนมาก ผู้แต่งใช้โปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมอาจสับสน เพราะแต่ละโปรแกรมจะมีวิธีการกำหนดการกำหนดให้พิมพ์เงื่อนไขต่างกัน เช่น บางโปรแกรมให้ใช้เครื่องหมายบวก(+) แทน AND แต่บางโปรแกรมอาจใช้เครื่องหมายเดียวกันแทน OR เป็นต้น ผู้ใช้จึงต้องศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละโปรแกรม


คำแนะนำในการใช้ Google

           การค้นหาแบบง่าย ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการ้นหาเพียง 2-3 คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไปดังนั้น ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก จำนวนเว็บเพจที่ค้นพบจะยิ่งลดจำนวนลง เพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)

           เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องมีอีเมลแอดเดรส (email address) หลักการเช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ กล่าวคือผู้ส่งใช้โปรแกรมรับส่งอีเมล เช่น ไมโครซอฟต์เอาต์ลุก (Microsoft Outlook) หรือโปรแกรมเว็บเมล (Wed mail) เป็นต้น โปรแกรมไมโครซอฟต์เอาต์ลุกปกติจะมากับชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ใช้สำหรับรับส่งอีเมลได้ทุกกรณี แต่ต้องมีการติดตั้ง (Set-up) ก่อนใช้จึงเป็นการไม่สะดวกนักหากผู้ใช้ต้องการจะไปรับส่งอีเมลที่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นนอกจากเครื่องที่ตนใช้เป็นประจำ วิธีการรับส่งแบบเว็บเมลเป็นวิธีที่สะดวกกว่า เพียงแต่ผู้ใช้เข้าสู่อินเตอร์เน็ต แล้วเข้าสู่เว็บไซต์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Host) ของอีเมลแอดเดรสที่ตนใช้อยู่ และเลือกคลิกที่ปุ่ม e-mail หรือ Mail โปรแกรมเว็บเมลซึ่งติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้นก็พร้อมที่จะทำงานทันที

 

กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Web forum)

           เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คล้ายกับการเขียนข้อความไว้บนกระดาน เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการจะสื่อสารกันมาอ่านและเขียนโต้ตอบกันได้ แต่กระดานในที่นี้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละราย ปัจจุบันนี้ เว็บไซต์บางแห่งจัดตั้งเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ แยกเป็นแต่ละกระดานสำหรับแต่ละเรื่อง เช่น กรณีเว็บไซต์ www.pantip.com เป็นต้น นอกจากนั้น เว็บไซต์บางแห่งอนุญาตให้มีการจัดตั้ง “ชุมชน” สำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันใช้สื่อสารกันด้วยจดหมาย เอกสาร รูปภาพ ฯลฯ นักศึกษาสามารถเข้าไปดูตัวอย่างกิจกรรมประเภทนี้ได้ที่ http://groups.msn.com/

ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้

            นับตั้งแต่มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 อารยธรรมของมนุษย์มีการบันทึกเพื่อถ่ายทอดแก่อนุชนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบ การแต่งหนังสือและการพิมพ์เผยแพร่เป็นจำนวนครั้งละมากๆ ทำให้ การเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตออกไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้นหนังสือยังเป็นสื่อที่สามารถอนุรักษ์ความรู้ไว้ได้เป็นเวลายาวนานมากกว่าความยืนยาวของชีวิตมนุษย์หลายสิบเท่า ห้องสมุดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาหนังสือ จึงมีการจัดการที่เป็นระบบ ทำให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่าย จึงเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก


Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์          

           Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือแม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียงกับห้องสมุดแบบดั้งเดิม

แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

             เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลกเชื่อมโยงกันจำนวนมากเครื่องแม่ข่ายแต่ละเครื่องมีข้อมูลข่าวสารบางอย่างบางประเภทบรรจุอยู่ เช่น ถ้าเป็นเครื่องแม่ข่ายของบริษัทผลิตรถยนต์ ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นต่างๆ ของบริษัทนั้นข้อมูลเกี่ยวกับการรับบริการต่างๆ จากบริษัท และอาจมีข้อมูลประเภทความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของยานยนต์ เทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับยานยนต์ มลพิษจากไอเสียของรถยนต์และวิธีบำบัดป้องกัน วิธีการขับรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น หากเป็นเครื่องแม่ข่ายของบริษัทของบริษัทท่องเที่ยว ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง ข้อมูลเกี่ยวกับการขออนุญาตเข้าประเทศต่างๆ เพื่อการท่องเที่ยว ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภาษาของประเทศนั้นๆ เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้อยู่ในรูปแบบของเอกสารที่มีการเชื่องโยงกันภายใต้มาตรฐาน World Wide Web (หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า http Hypertext Transfer Protocol) เราเรียกแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งเหล่านี้ว่า เป็น เว็บไซต์ (Web Site) ซึ่งแปลว่าแหล่งข้อมูลในระบบ World Wide Web นั่นเอง